4| | | | | | | | |ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ กรรณิกา จิตรเจริญ| | | | | | | | |3

อวัจนภาษา


1.อวัจนภาษา
มีกำเนิดมาก่อนวัจนภาษา เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในแต่ละสังคม และมีความหมายเฉพาะที่สังคมกำหนดขึ้น แต่เนื่องจากอวัจนภาษา ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวลักษณะธรรมชาติ ทำให้แต่ละสังคมมีอวัจนภาษาที่คล้ายคลึงกัน ในบางส่วนจัดได้ว่าอวัจนภาษาสากล คืออวัจนภาษาที่เป็นวัฒนธรรมของคนหมู่มาก ได้แก่ การโบกมือ การโอบกอด การชี้นิ้ว
อวัจนภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของสังคมไทยมีหลายประการดังนี้
กิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกาย คนไทยไม่นิยมเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะผู้หญิง อวัจนภาษาของผู้หญิงเรื่องกิริยาท่าทางนิยมความอ่อนช้อย นิ่มนวล ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก
ปัจจุบัน ผู้หญิงไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่องกิริยาท่าทางต่างๆ ทำให้ความอ่อนช้อย เชื่องช้าเปลี่ยนไปประกอบกับเทคโนโลยีที่เจริญขึ้นทำให้กิริยาท่าทางเหล่านั้นต้องแปรเปลี่ยนทันกับสังคมด้วย
การสัมผัส วัฒนธรรมไทย ไม่นิยมการสัมผัสโดยเฉพาะระหว่างหญิงชาย การโอบกอดจีบมือเพื่อทักทาย ถือเป็นวัฒนธรรมต่างชาติทั้งสิ้น ในสังคมไทยโบราณผู้ใหญ่มักเป็นผู้สัมผัสผู้น้อย การสัมผัสระหว่างหญิงกับชายก็มักมีความหมายในเรื่องเพศ สังคมไทยไม่นิยมสัมผัสศีรษะ ถือเป็นการดูหมิ่น เป็นต้น ปัจจุบันการสัมผัสเป็นสากลมากขึ้น ตั้งแต่การสัมผัสมือ การเลี้ยงลูกที่มุ่งให้สัมผัส กอดรัด ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและหญิงชายในสังคมก้อสัมผัสกันมากขึ้น
ลักษณะทางกายภาพ เช่น การแต่งกาย สังคมไทยเป็นสังคมเมืองร้อนมักจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าบาง ไม่หนักตา เมื่อรับวัฒนธรรมตะวันตกเรื่องกายแต่งกาย รวมทั้งสถานที่ทำงานที่ติดเครื่องปรับอากาศ ทำให้เราแต่งกายเป็นสากลกันมากขึ้น
การใช้สายตา ผู้น้อยไม่สบตาผู้ใหญ่โดยตรง ถือว่าเป็นการเสียมารยาทต้องรอให้ผู้ใหญ่ถามจึงจะสบตาและตอบคำถาม
เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า แต่ละวัฒนธรรมอวัจนภาษามีความแตกต่างกันในการสื่อสารความหมาย หากผู้ส่งสารจะต้องส่งสารต่างวัฒนธรรมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้รับสารให้กระจ่าง เพื่อป้องกันปัญหาการสื่อสารอันอาจเกิดจากอวัจนภาษาได้
อ้างอิง
อวยพร พานิช.ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2543



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น