4| | | | | | | | |ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ กรรณิกา จิตรเจริญ| | | | | | | | |3

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาษากับวัฒนธรรม


ภาษากับวัฒนธรรม
ในการศึกษาเรื่องภาษาเพื่อการสื่อสารวัฒนธรรมเป็นหัวข้อหนึ่งที่จำเป็นต่อผู้ทำการสื่อสารเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญก่อนการสื่อสารเนื่องจากวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เนื้อหาที่สื่อสารและแม้แต่ผลที่คาดเด่าว่าจะเกิดหลังการสื่อสารด้วย
วัฒนธรรมคืออะไร
วัฒนธรรม เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้าง อาจหมายรวมถึง วิธีการดำเนินชีวิตพฤติกรรมและผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา รวมถึงความคิดเห็น ความประพฤติ กิริยาอาการ ภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
เนื้อหาของวัฒนธรรม ประสิทธิ์ กาพย์กลอน  กล่าวไว้ในหนังสือภาษากับวัฒนธรรมว่า วิธีแบ่งเนื้อหาของวัฒนธรรมได้หลายประการ ประการหนึ่งได้แก่ แบ่งเป็น
1.ภาษา ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง เป็นต้น
2.สิ่งที่ป็นวัตถุ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่ ยารักษาโรค เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
3.ศิลปกรรม ได้แก่ การปั่น การละคร แกะสลัก ดนตรีและวรรณคดี เป็นต้น
4.คติชาวนา นิยายปรัมปรา ความรู้วิทยาการต่างๆ
5.การปฏิบัติทางสาสนา พิธีกรรมต่างๆ
6.ครอบครัวและระบบทางสังคม ได้แก่ แบบแผนในการแต่งงานการนับยาติวงส์ตระกลู
7.ทรพสมบัติ การตีราคา การแลกเปลี่ยน
8.รัฐบาลและการปกครอง ได้แก่ รูปลักษณ์ทางการเมือง กฎหมาย
9.การสงครามและการต่อสู้ป้องกันตัว
จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตคนในสังคมทุกๆด้าน ผู้ทำการสื่อสารจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องวัฒนธรรมในสังคมที่เราสื่อสารอยู่ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อให้การสื่อสารดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
หากศึกษารูปแบบของการสื่อสารจะเห็นได้ว่า รอบๆ ตัวผู้ส่งสารและ ผู้รับสารนั้น จะมีปริบทแวดล้อมอยู่ ที่เราเรียกว่า กรอบอ้างอิงในการสื่อสารหรือประสบการณ์ร่วมในการสื่อสาร(Frame of Reference หรือ Field of Experience ) กรอบผู้อ้างอิงผู้ส่งสารและผู้รับสารนี้กล่าวโดยกว้างก็คือ วัฒนธรรมการเลี้ยงดู การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลที่ทำการสื่อสารนั่นเองหากเราต้องการให้สื่อสารนั้นๆสัมฤทธิผล จึงจำเป็นต้องการศึกการเรื่องวัฒนธรรมและตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมในการสื่อสารตลอดเวลา
วัฒนธรรมสื่อในสังคมไทย
คนรุ่นก่อนยังไม่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสาร เขาสืบทอกวัฒนธรรมสู่ลูกหลานด้วนการสั่งสอนให้ปฏิบัติและปฏิบัติเองเป็นแบบอย่างสื่อสารด้วยการพุด การแสดงออกด้วยท่าทางเพื่อบอกกล่าวโน้มน้าวใจและให้ความบันเทิง สถาบันครอบครัว และวัดเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่
ต่อมา โรงเรียนเพิ่มเข้ามาเป็นสถานที่สื่อสารวัฒนธรรมอีกแห่ง ด้วยการสอนและปฏิบัติในโรงเรียน เมื่อสังคมสื่อมวลชนเจริญขึ้น วัฒนธรรมก็เผยแพร่ไปโดยสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินทรอนิกส์ต่างๆ ร่วมกับสื่อบุคคลการขยายกว้างของแหล่งข่าวสาร ทำให้การรับวัฒนธรรมใหม่ๆเกิดขึ้นได้ง่ายวัฒนธรรมไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อวัฒนธรรมต่างชาติแพร่เข้ามาโดยข่าว เพลง โฆษณา หนังละคร ทำให้วัฒนธรรมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนผู้ห่างไกลข่าวสารแทบจะตามไม่ทันก็เป็นได้
วัฒนธรรมการชีสื่อก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันจากสื่อบุคคลล้วนๆมาเป็นสื่อระคนคือ ทั้งสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์เคลื่อนที่ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสื่อสมัยใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ล้วนเป็นเรื่องที่ท้าทายนักสื่อสารอย่างมากที่จะก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
                                                                                  
                                                                                           อ้างอิง
อวยพร พานิช.ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2543